E-Waste คืออะไร? | ภัยเงียบยุคดิจิทัล จัดการอย่างไรให้โลกปลอดภัยและยั่งยืน
- kwanjira2
- 21 มี.ค.
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 11 เม.ย.
E-Waste คืออะไร? | ภัยเงียบยุคดิจิทัล จัดการอย่างไรให้โลกปลอดภัยและยั่งยืน
ในทุก ๆ ปี อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลายล้านชิ้นถูกทิ้งเนื่องจากชำรุดหรือกลายเป็นของเก่า ทำให้ต้องถูกทิ้งไป อุปกรณ์ที่ถูกทิ้งเหล่านี้ถูกเรียกว่า "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" หรือ E-Waste ซึ่งขยะประเภทนี้นับเป็นขยะที่มีความอันตราย ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมหากไม่ได้รับการกำจัดหรือรีไซเคิลอย่างถูกวิธี BMSP ในฐานะองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการรักษาสิ่งแวดล้อม เราได้เข้าร่วมแคมเปญที่จัดขึ้นโดย สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตันในประเทศไทย ที่จัดขึ้นร่วมกับ AIS โดย BMSP ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งต่อไปยังการรีไซเคิลหรือทำให้กลับมาใช้งานใหม่ ภายใต้แนวคิด “E-Waste to E-Access” ซึ่งมุ่งเน้นการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบ
E-Waste (ขยะอิเล็กทรอนิกส์) คือ ขยะที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้วหรือไม่ต้องการใช้งานแล้ว เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่หมดอายุการใช้งาน หรือไม่ได้รับการใช้งานอีกต่อไป
อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีสารอันตรายหลายประเภท ซึ่งผู้ใช้ไม่ค่อยจะพบเจอสารเหล่านี้ในขณะที่อุปกรณ์ยังใช้งานได้อยู่ แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้กลายเป็นขยะ สารพิษเหล่านี้อาจกระจายเข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้หากได้รับการจัดการโดยวิธีที่ไม่เหมาะสมและเป็นอันตราย ซึ่งในหลายครั้งเราจะพบวิธีในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกต้อง เช่น
- การทิ้งลงบนพื้นดินหรือในแหล่งน้ำ
- การทิ้งลงในหลุมฝังกลบร่วมกับขยะทั่วไป
- การเผาในพื้นที่โล่ง
- การแช่ในกรดหรือการกัดกร่อนด้วยกรด
- การลอกและฉีกพลาสติกออกจากอุปกรณ์
- การถอดแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์ด้วยมือ
วิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะจะปล่อยมลพิษที่เป็นพิษเข้าสู่อากาศ ดิน ฝุ่น และน้ำในบริเวณที่มีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และชุมชนใกล้เคียง โดยเฉพาะการเผาขยะในพื้นที่โล่งจะทำให้เกิดควันพิษที่มีอันตรายต่อสุขภาพ สารเคมีที่ถูกปล่อยออกมานั้นสามารถกระจายไปในวงกว้างและคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน ส่งผลให้คนที่อยู่ไกลออกไปก็ยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารปนเปื้อนด้วยเช่นกัน
ปัญหาที่เกิดจาก E-Waste
1. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
การกำจัด E-Waste ที่ไม่ถูกวิธี เช่น การเผาไหม้ ทำให้สารพิษเช่น ตะกั่ว ปรอท และสารเคมีอื่น ๆ แพร่กระจายไปในอากาศและดิน ซึ่งทำให้เกิดมลพิษและอันตรายต่อสุขภาพ
2. ผลกระทบต่อสุขภาพ
คนที่ทำการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ใช้วิธีที่ปลอดภัยอาจได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายจากการสัมผัส เช่น ตะกั่วหรือสารปรอทที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทและการพัฒนาของเด็ก
3. ความสูญเสียทรัพยากร
E-Waste ประกอบด้วยวัสดุที่มีค่า เช่น ทองคำ ทองแดง และโลหะหายากอื่น ๆ ซึ่งถ้าหากไม่รีไซเคิลอย่างถูกต้องจะทำให้ทรัพยากรเหล่านี้สูญเสียไปอย่างไร้มูลค่า
วิธีแก้ไขปัญหา E-Waste
1. การรีไซเคิล
ส่ง E-Waste ไปยังศูนย์รีไซเคิลที่ได้รับการรับรอง เพื่อทำการนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่มาแยกออก เช่น ทองคำ ทองแดง และโลหะหายากอื่น ๆ
2. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน
ควรเลือกซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพและมีการรับประกัน เพื่อยืดอายุการใช้งานและลดปริมาณ E-Waste
3. การจัดการขยะอย่างถูกวิธี
ส่ง E-Waste ไปยังจุดรับขยะที่ถูกต้อง และห้ามทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในที่ทิ้งขยะทั่วไป เพราะ “Sustainable Internet Start with You”
4. การสร้างความตระหนัก
ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบของ E-Waste และวิธีการกำจัดที่ถูกต้อง รวมถึงการสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การจัดการ E-Waste อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์และเพื่อประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่
BMSP ในฐานะองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการรักษาสิ่งแวดล้อม เราได้เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ประจำปี "Global Days of Service" ของสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตันในประเทศไทย ที่จัดขึ้นร่วมกับ AIS โดย BMSP ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งต่อไปยังการรีไซเคิลหรือทำให้กลับมาใช้งานใหม่ ภายใต้แนวคิด “E-Waste to E-Access” ซึ่งในปีนี้มุ่งไปที่กิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบ
หากบริษัทของท่านต้องการทิ้งหรือต้องการกล่องเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ สามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เมล Warangkhana@bmsp.tech ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 23 เมษายน 2568
#EWaste #Sustainability #Recycle #BMPS #BostonUniversity #รักษ์โลก #ลดมลพิษ
Comments