IAM คืออะไร? ทำไมองค์กรยุคดิจิทัลถึงควรมี
- kwanjira2
- 6 วันที่ผ่านมา
- ยาว 1 นาที
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลมีความสำคัญและการทำงานออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ความปลอดภัยของข้อมูลและการเข้าถึงระบบจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการจัดการการพิสูจน์ตัวตนและการเข้าถึง หรือที่เรียกว่า Identity and Access Management (IAM)

Identity and Access Management (IAM) คืออะไร?
Identity and Access Management (IAM) หรือ การจัดการการพิสูจน์ตัวตนและการเข้าถึง คือการรักษาความปลอดภัยที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและระบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งานหรือเครื่องจักร ผ่านแนวคิด Zero Trust นั่นคือ “Never trust, always verify อย่าเชื่ออะไรโดยที่ยังไม่มีการตรวจสอบ” และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงตามที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการป้องกันการแอบอ้างหรือการหลอกลวงในการเข้าถึงระบบ
IAM ทำหน้าที่อะไร?
IAM (Identity and Access Management) ทำหน้าที่หลักในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้เมื่อเข้าสู่ระบบ และควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงของผู้ใช้แต่ละคน ว่าผู้ใช้คนไหนมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบอะไรบ้าง รวมถึงการกำหนดขอบเขตว่าแต่ละผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือฟังก์ชันไหนได้บ้าง ซึ่งทำให้ระบบมีความปลอดภัย โดยสามารถป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต และยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือบริการที่เกี่ยวข้องได้อย่างสะดวกและปลอดภัยตามสิทธิ์ที่ได้รับ
ทำไม IAM ถึงสำคัญ?
การจัดการการพิสูจน์ตัวตนและการเข้าถึงจะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลสำคัญในองค์กรจะได้รับการป้องกันจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต และลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดี นอกจากนี้ยังช่วยให้การทำงานมีความสะดวกขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือระบบที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยตามสิทธิ์ที่ได้รับ
ประโยชน์จากการใช้ IAM
ป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต IAM ช่วยควบคุมและจำกัดการเข้าถึงระบบและข้อมูลสำคัญ ป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลภายนอกหรือภายในองค์กร
เพิ่มความปลอดภัยในการจัดการข้อมูล IAM กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลและระบบได้อย่างชัดเจน ช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูล
ตรวจสอบและรายงานที่มีประสิทธิภาพ IAM สามารถบันทึกข้อมูลการเข้าถึงและช่วยตรวจสอบกิจกรรมที่ผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว
ปฏิบัติตามข้อกำหนด ช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย เช่น GDPR และ HIPAA
สนับสนุนการทำงานจากระยะไกล (Remote Working) ช่วยให้พนักงานทำงานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย พร้อมการพิสูจน์ตัวตนและการควบคุมการเข้าถึง
ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล การใช้ IAM ที่มีการยืนยันตัวตนที่ปลอดภัย เช่น MFA ช่วยลดความเสี่ยงจากการโจรกรรมข้อมูลและป้องกันการละเมิดข้อมูลสำคัญ
เริ่มต้นใช้งานอย่างไร?
ประเมินความต้องการขององค์กร ก่อนเริ่มใช้งาน IAM ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและความต้องการขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนผู้ใช้งาน และประเภทข้อมูลที่ต้องการปกป้อง เพื่อเลือกโซลูชัน IAM ที่เหมาะสม
เลือกโซลูชัน IAM ที่ตอบโจทย์ เลือกโซลูชัน IAM ที่สามารถรองรับการจัดการการพิสูจน์ตัวตนและการเข้าถึงที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร ที่ BMSP เรามีระบบ IAM ให้เลือกจากหลากหลายแบรนด์ชั้นนำที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการขององค์กรคุณ เราสามารถ ช่วยแนะนำโซลูชันที่ดีที่สุดให้เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณขององค์กรได้ พร้อมบริการจากทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
กำหนดนโยบายการเข้าถึง ตั้งค่านโยบายการเข้าถึงให้เหมาะสม เช่น การใช้ Just Enough Privilege (JEP) และ Just in Time (JIT) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและระบบตามความจำเป็นเท่านั้น
ติดตั้งและกำหนดค่าระบบ IAM ติดตั้งโซลูชัน IAM ที่เลือกและกำหนดค่าเริ่มต้น เช่น การกำหนดบทบาทของผู้ใช้ สิทธิ์การเข้าถึง และการใช้ฟีเจอร์เช่น Multi-Factor Authentication (MFA) เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
ฝึกอบรมและการใช้งาน จัดให้มีการฝึกอบรมให้กับผู้ใช้งานทุกระดับ เพื่อให้เข้าใจถึงการใช้ IAM และวิธีการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงอย่างปลอดภัย
ติดตามและตรวจสอบ ติดตามกิจกรรมของผู้ใช้ในระบบเพื่อระบุการเข้าถึงที่ไม่ปกติหรือผิดปกติ การตรวจสอบการเข้าถึงในระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัย
อัปเดตและปรับแต่ง การใช้งาน IAM ควรอัปเดต อย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หรือการอัปเดตระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ
หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมหรือคำปรึกษาในการเริ่มต้นใช้งาน IAM สามารถติดต่อเราได้ที่ marketing@bangkokmsp.com
Comments